วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โทษและการป้องกัน (พร้อมแบบทดสอบ)

โทษของสารเสพติด




โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ดังนี้
1. โทษต่อร่างกาย  สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ  เช่น  ทำให้สมองถูกทำลาย  ความจำ เสื่อม  ดวงตาพร่ามั่ว  น้ำหนักลด  ร่างกายซูบผอม  ตาแห้ง  เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ  เครียด  เป็นต้น
2. โทษต่อผู้ใกล้ชิด  ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว  ทำให้วงศ์ตระกูล เสื่อมเสีย
3. โทษต่อสังคม  เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม  สูญเสียแรงงาน  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการ ปราบปรามและการบำบัดรักษา
4.  โทษต่อประเทศไทย  ทำลายเศรษฐกิจของชาติ

การป้องกันและต่อต้านสารเสพติด




วิธีการป้องกันไม่ให้ตกเป็นทาสของสารเสพติด
1. การป้องกันตัวเอง ทำได้โดยไม่ทดลองเสพสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจากติดง่าย หายยาก และไม่ใช้ยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
2. การป้องกันครอบครัว สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความรักใคร่ ความผูกพัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้อภัยให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่ดีและถูกต้อง
3. การป้องกันชุมชน ในชุมชนประกอบด้วยบุคคลที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ดังนั้นทุกคนที่อยู่ในชุมชน ควรมีความรับผิดชอบต่อชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ ช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแล และเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับสารเสพติด เช่น มีการลักลอบซื้อขายสารเสพติด หรือมีแหล่งมั่วสุมในชุมชน ก็ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองช่วยกันปราบปราม ซึ่งจะทำให้ชุมชนไม่มีปัญหาเรื่องเสพติด และทุกคนในชุมชนจะอยู่กันอย่างมีความสุข
มาตรการในการต่อต้านและแก้ไขปัญหาสารเสพติด
1.  การปราบปรามยาเสพติดและการค้ายาเสพติด
2.  การป้องกันยาเสพติด
3.  การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และฟื้นฟูสภาพจิตใจ
4.  การควบคุมพืชเสพติดโดยการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทน
5.  การร่วมมือกับต่างประเทศในการปราบปรามยาเสพติด




แบบทดสอบท้ายบทเรียน



สาเหตุของการติดสารเสพติด


มีหลายประการ ดังนี้คือ

1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์


          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
          1. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจประมาท  ไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก  จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น  หรือ  ถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น  เฮโรอีน  แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
          2. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน  ในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆ  เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
          3. การชักชวนของคนอื่น  อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา  ของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น  ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา  ทำให้มีจิตใจแจ่มใส  ทำให้มีสุขภาพดี  ทำให้มีสติปัญญาดี  สามารถรักษาโรคได้บางชนิด  เป็นต้น  ผู้ที่เชื่อคำชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน  หรือเชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น

2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง

         ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว  รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร  ขนม  หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น ๆ  กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิดสังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง

3. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย


          1. คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่าง ๆ  เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือ  เป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น
          2. ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น  มีความวิตก  กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์  จิตใจก็จะกลับเครียดอีก  และ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด
          3. การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริงขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้

4.สาเหตุอื่นๆ


         การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป  เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
          1. คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ  เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด  ช่วยผ่อนคลายความรู้สึก  ในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยามก็ตาม  เช่น  กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น  โดยพยายามทำงานให้หนัก และ มากขึ้นทั้ง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้
          2.การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อน จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด
          3. คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม




      << ก่อนหน้า หน้าแรก หน้าถัดไป >>





ประเภทของสารเสพติด


1. ประเภทกดประสาท

ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์กดประสาท  เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ในสมองที่ควบคุมความรู้สึก  ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดลงได้  แต่การนำยากลุ่มนี้ไปใช้ในทาง ที่ผิดจะเป็นการเสพติดเพราะใช้มากเกินกว่าปริมาณ  ซึ่งได้แก่  ฝิ่น  มอร์ฟีน   เฮโรอีน   ยานอนหลับ   ยาระงับประสาท  ยากล่อมประสาท  และเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น ผู้เสพมักพบว่ามีร่างกายซูบซีด  ผอมเหลือง  ง่วงซึมอ่อนเพลีย  มึนงง ใจคอหงุดหงิด  ความรู้สึกเลื่อนลอย  ขาดความรับผิดชอบ  ชอบทะเลาะวิวาท  ก้าวร้าวผู้อื่น  ฟุ้งซ่าน  อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

2. ประเภทกระตุ้นประสาท

ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท  เป็นยาเสพติดที่มีผลต่อระบบประสาท  ทำให้ ประสาทตึงเครียดร่างกายตื่นตัวไม่ง่วงนอน ความคิดสับสน  เกิดภาพหลอน  ได้แก่  ยาบ้า  ยาไอซ์  ยาอี  เอ็คตาซี  กระท่อม โคเคน  เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน  อาทิ  เครื่องดื่มชูกำลัง  ชา  กาแฟ  และน้ำอัดลม  เป็นต้น  ผู้เสพมักพบว่า  มีอาการเพ้อคลั่งคล้ายคนเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวงหรือเป็นบ้าได้ บางครั้งมีอาการ คลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น  และฤทธิ์ยาจะทำให้ปวดศีรษะ  เบื่ออาหาร  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ปวดท้องอย่างรุนแรง

3. ประเภทหลอนประสาท

ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์หลอนประสาท  เป็นยาเสพติดที่มีผลต่อ ระบบประสาทสมองส่วนสัมผัส ทั้ง 5 โดยฤทธิ์ของยาเสพติดกลุ่มนี้จะไปบิดเบือนประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นจริง  ได้แก่ ยาเค (เคตามีน)  แอลเอสดี  ดี.เอ็ม.ที.  และเห็ดขี้ควาย เป็นต้น  ผู้เสพมักพบว่า  มีอาการมึนเมา  ประสาทหลอน  ฝันเฟื่อง  เห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร  หูแว่ว  ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่ น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้  เพ้อคลั่ง ทุรนทุรายหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ในที่สุดมักป่วยเป็น โรคจิต

4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน  เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ทั้งกระตุ้นประสาท  กดประสาท  และหลอนประสาทร่วมกัน  ได้แก่ กัญชา เป็นต้น  พบว่าโดยเบื้องต้นจะกระตุ้นประสาทให้ผู้เสพตื่นตัว ร่าเริง  ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้รู้สึกคล้ายเมาเหล้า  มีอาการง่วงนอน  เซื่องซึม เมื่อเสพมากขึ้นจะหลอนประสาท อาจเห็นภาพลวงตา หูแว่ว หรือมีการหวาดระแวง ความคิดสับสน ควบคุม ตนเองไม่ได้ ผู้เสพส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคจิตในภายหลัง

พลังงานที่ร่างกายต้องการ


พลังงานที่ร่างกายต้องการในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ที่ทำ เช่น นักเรียนอยู่ในวัยเจริญเติบโต (อายุระหว่าง 12-15 ปี) ต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน ส่วนในวัยผู้ใหญ่ (อายุระหว่าง 20-29 ปี) ต้องการพลังงานตามประเภทของงานที่ทำในแต่ละวัน
         ร่างกายของคนเราต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อ ประกอบกิจกรรมในแต่ละวัน ตลอดจนรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่  พลังงานที่ร่างกายต้องการนี้ได้ มาจากอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ซึ่งแต่ละชนิดให้พลังงานต่างกัน เช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน หนัก 1 กรัม จะให้พลังงานเท่ากัน คือ 4 กิโลแคลอรี  ส่วนไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานสูงถึง 9 กิโลแคลอรี  


ตารางแสดงปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทยในวัยต่าง ๆ


สถานภาพ
อายุ  (ปี)
พลังงาน  (Kcal)
พลังงาน  (Kcal)
ชาย
หญิง
ทารก
0 – 5  เดือน
พลังงานจากน้ำนมแม่
พลังงานจากน้ำนมแม่
6 – 11  เดือน
800
800
เด็ก
1 – 3  ปี
1,000
1,000
4 – 5  ปี
1,300
1,300
6 – 8  ปี
1,400
1,400
วัยรุ่น
9 – 12  ปี
1,700
1,600
13 – 15  ปี
2,100
1,800
16 – 18  ปี
2,300
1,850
ผู้ใหญ่
19 – 30 ปี
2,150
1,750
31 – 50  ปี
2,100
1,750
51 – 70  ปี
2,100
1,750
71  ปี  ขึ้นไป
1,750
1,550
ตั้งครรภ์
3  เดือนแรก
+0
เดือนที่  4 – 9
+300
ให้นมบุตร
+500

         ปริมาณพลังงานที่ร่างกายของแต่ละคนควรจะได้รับขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ ประเภทของกิจกรรมที่ทำ เช่น การเขียนหนังสือ งานกลางแจ้ง การแบกหาม การเดิน ปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับคนไทยคำนวณต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สำหรับทำกิจกรรม 1 ชั่วโมง

ตาราง   แสดงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลา 1 ชั่วโมงต่อน้ำหนักของร่างกาย 1 กิโลกรัม

กิจกรรมที่ทำ
พลังงานที่ใช้ ( Kcal )
พลังงานที่ใช้ ( Kcal )

ชาย

                 หญิง
นอนหลับ
นั่งพัก  อ่านหนังสือ
นั่งเขียนหนังสือ
ขับรถ
เย็บผ้าด้วยจักรเย็บผ้า
ล้างจาน  ปัดฝุ่น
อาบน้ำแปรงฟัน
ล้างรถ
ถูพื้น  เลื่อยไม้
ทำความสะอาดหน้าต่าง,ตีปิงปอง
ว่ายน้ำ
เล่นเทนนิส
ขุดดิน  ยกน้ำหนัก
เล่นบาสเกตบอล  ฟุตบอล
ชกมวย  ว่ายน้ำอย่างเร็ว
ปีนทางชันและขรุขระ
1.05
1.26
1.47
2.42
2.63
2.84
3.05
3.68
3.89
4.20
4.73
6.30
7.35
7.88
9.43
10.50
0.97
1.16
1.36
2.23
2.43
2.62
2.81
3.40
3.59
3.88
4.37
5.82
6.79
7.28
8.73
9.70

จากข้อมูลในตารางนักเรียนจะเห็นได้ว่า  พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน  กิจกรรมที่ใช้พลังงานมากที่สุดคือ  การปีนทางชันและขรุขระ  ส่วนกิจกรรมที่ใช้พลังงาน้อยที่สุดคือ การนอนหลับ  นอกจากนี้ในกิจกรรมเดียวกัน  เพศชายจะใช้พลังงานมากกว่าเพศหญิงเสมอ
ดังนั้น  จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า   การใช้พลังงานในการทำกิจกรรมของแต่ละคนแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ  ประเภทของกิจกรรมรวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ทำกิจกรรมนั้น ๆ เพศและ น้ำหนักตัว  โดยผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจะต้องใช้พลังงานมาก  และเพศชายใช้พลังงานมากกว่าเพศหญิง ในการทำกิจกรรมประเภทเดียวกัน