วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พลังงานที่ร่างกายต้องการ


พลังงานที่ร่างกายต้องการในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ที่ทำ เช่น นักเรียนอยู่ในวัยเจริญเติบโต (อายุระหว่าง 12-15 ปี) ต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน ส่วนในวัยผู้ใหญ่ (อายุระหว่าง 20-29 ปี) ต้องการพลังงานตามประเภทของงานที่ทำในแต่ละวัน
         ร่างกายของคนเราต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อ ประกอบกิจกรรมในแต่ละวัน ตลอดจนรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่  พลังงานที่ร่างกายต้องการนี้ได้ มาจากอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ซึ่งแต่ละชนิดให้พลังงานต่างกัน เช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน หนัก 1 กรัม จะให้พลังงานเท่ากัน คือ 4 กิโลแคลอรี  ส่วนไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานสูงถึง 9 กิโลแคลอรี  


ตารางแสดงปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทยในวัยต่าง ๆ


สถานภาพ
อายุ  (ปี)
พลังงาน  (Kcal)
พลังงาน  (Kcal)
ชาย
หญิง
ทารก
0 – 5  เดือน
พลังงานจากน้ำนมแม่
พลังงานจากน้ำนมแม่
6 – 11  เดือน
800
800
เด็ก
1 – 3  ปี
1,000
1,000
4 – 5  ปี
1,300
1,300
6 – 8  ปี
1,400
1,400
วัยรุ่น
9 – 12  ปี
1,700
1,600
13 – 15  ปี
2,100
1,800
16 – 18  ปี
2,300
1,850
ผู้ใหญ่
19 – 30 ปี
2,150
1,750
31 – 50  ปี
2,100
1,750
51 – 70  ปี
2,100
1,750
71  ปี  ขึ้นไป
1,750
1,550
ตั้งครรภ์
3  เดือนแรก
+0
เดือนที่  4 – 9
+300
ให้นมบุตร
+500

         ปริมาณพลังงานที่ร่างกายของแต่ละคนควรจะได้รับขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ ประเภทของกิจกรรมที่ทำ เช่น การเขียนหนังสือ งานกลางแจ้ง การแบกหาม การเดิน ปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับคนไทยคำนวณต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สำหรับทำกิจกรรม 1 ชั่วโมง

ตาราง   แสดงพลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลา 1 ชั่วโมงต่อน้ำหนักของร่างกาย 1 กิโลกรัม

กิจกรรมที่ทำ
พลังงานที่ใช้ ( Kcal )
พลังงานที่ใช้ ( Kcal )

ชาย

                 หญิง
นอนหลับ
นั่งพัก  อ่านหนังสือ
นั่งเขียนหนังสือ
ขับรถ
เย็บผ้าด้วยจักรเย็บผ้า
ล้างจาน  ปัดฝุ่น
อาบน้ำแปรงฟัน
ล้างรถ
ถูพื้น  เลื่อยไม้
ทำความสะอาดหน้าต่าง,ตีปิงปอง
ว่ายน้ำ
เล่นเทนนิส
ขุดดิน  ยกน้ำหนัก
เล่นบาสเกตบอล  ฟุตบอล
ชกมวย  ว่ายน้ำอย่างเร็ว
ปีนทางชันและขรุขระ
1.05
1.26
1.47
2.42
2.63
2.84
3.05
3.68
3.89
4.20
4.73
6.30
7.35
7.88
9.43
10.50
0.97
1.16
1.36
2.23
2.43
2.62
2.81
3.40
3.59
3.88
4.37
5.82
6.79
7.28
8.73
9.70

จากข้อมูลในตารางนักเรียนจะเห็นได้ว่า  พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน  กิจกรรมที่ใช้พลังงานมากที่สุดคือ  การปีนทางชันและขรุขระ  ส่วนกิจกรรมที่ใช้พลังงาน้อยที่สุดคือ การนอนหลับ  นอกจากนี้ในกิจกรรมเดียวกัน  เพศชายจะใช้พลังงานมากกว่าเพศหญิงเสมอ
ดังนั้น  จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า   การใช้พลังงานในการทำกิจกรรมของแต่ละคนแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ  ประเภทของกิจกรรมรวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ทำกิจกรรมนั้น ๆ เพศและ น้ำหนักตัว  โดยผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจะต้องใช้พลังงานมาก  และเพศชายใช้พลังงานมากกว่าเพศหญิง ในการทำกิจกรรมประเภทเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น